วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

มีดหมอ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ใครๆ ก็จะรู้จักท่าน ในสมัยที่หลวงพ่อเดิมท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น เหรียญรูปท่าน พระรูปเหมือน งาแกะรูปสิงห์ นางกวักต่างๆ ตะกรุด ผ้ายันต์ และมีดหมอ ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องมีดหมอกันครับ

หลวงพ่อเดิมท่านได้ศึกษา วิชามีดหมอมาจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี นครสวรรค์ ต่อมาท่านก็ได้สร้างมีดหมอขึ้นมา และการสร้างมีดในยุคแรกนั้นท่านก็ได้สร้างมีดเล่มใหญ่ให้แก่ควาญช้างของท่าน ซึ่งมีขนาดทั้งด้ามทั้งฝักยาวประมาณหนึ่งศอก ในสมัยต่อมามักเรียกกันว่า มีดควาญช้างหลวงพ่อเดิม ต่อมาท่านก็ได้ทำมีดให้มีขนาดเล็กลง ขนาดพอพกได้พอดีจนมาถึงมีดขนาดเล็ก พกใส่กระเป๋าเสื้อได้ในที่สุด

มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพนั้นว่ากันว่าเนื้อเหล็กที่นำมาใช้ตีเป็นมีดนั้นจะมีส่วนผสมประกอบด้วยตะปูสังขวานร ซึ่งเป็นตะปูในสมัยโบราณที่ใช้ยึดเครื่องไม้ในพระอุโบสถแทนตะปู ตะปูโลงผีที่สัปเหร่อเผาแล้วเก็บไว้ บาตรแตกชำรุด และเหล็กน้ำพี้ นำมาเป็นส่วนผสมใช้ทำมีดหมอ สำหรับช่างที่ตีมีดหมอของหลวงพ่อเดิมนั้น เท่าที่พบจะเป็นฝีมือช่างฉิม ช่างไข่ และช่างสอน ซึ่งแต่ละช่างจะมีเอกลักษณ์ของตัวมีดของตนเองต่างกันไป เมื่อช่างทำใบมีดเสร็จแล้ว ก็จะส่งต่อให้ช่างทำด้ามและฝักทำต่อ ส่วนที่เป็นตัวด้าม ถ้าเป็นมีดเล่มใหญ่จะมีด้ามเป็นงา และฝักเป็นไม้คูน ส่วนเล่มเล็กก็จะมีด้ามเป็นงาและฝักเป็นงา จากนั้นก็ส่งต่อไปให้ช่างทำเงินทำที่รัดปลอกมีดและด้ามมีด ช่างจะทำเงิน ทองหรือนากตามที่กำหนด โดยส่วนมากจะเป็นเงินเพียงอย่างเดียว

เมื่อทุกอย่างเสร็จก็จะนำมาประกอบที่วัดหนองโพ โดยหลวงพ่อเดิมจะทำผงอิทธิเจไว้ให้ ผสมกับเส้นเกศาของหลวงพ่อที่ปลงในวันขึ้น 15 ค่ำ และแผ่นตะกรุด ซึ่งเป็นเงิน ทอง นาก เป็นแผ่นเล็กๆ ลงอักขระ ตัดพอดีกับตัวกั้นของมีด บรรจุลงไปในด้ามมีดอุดด้วยครั่งจนแน่น หลังจากนั้นหลวงพ่อเดิม จึงนำมีดหมอไปปลุกเสกอีกทีหนึ่ง

พุทธคุณมีดหมอ ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพนั้นดีในทุกๆ เรื่อง เช่น เป็นมหาอุดอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ป้องกันเขี้ยวงา ป้องกันคุณไสย การกระทำย่ำยี ป้องกันภูตผีปีศาจร้ายได้ มีผู้เคยมีประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้มามากมาย วิธีอาราธนามีดหมอของหลวงพ่อเดิมเวลาจะไปไหนมาไหนให้ระลึกถึงหลวงพ่อเดิมแล้วว่า "พระพุทธังรักษา พระธรรมมังรักษา พระสังฆังรักษา ศัตรูมาบีฑาวินาศสันติ" เท่านี้ก็พอครับ ส่วนคาถากำกับมีดหมอของหลวงพ่อเดิมนั้นมีดังนี้" สักกัสสะ วชิราวุทธัง เวสสุวันนะสะคะธาวุทธัง อาฬาวะกะธุสาวุทธัง ยะมะสะนัยนาวุทธัง ณารายยะสะจักกะราวุทธัง ปัญจะอาวุทธานัง เอเตสังอานุภาเวนะ ปัญจะอาวุทธานัง ภัคคะภัคขา วิจุณนัง วิจุณนาโลมังมาเมนะ พุทธะสันติ คัจฉะอะมุทหิ โอกาเสติฐาหิ"

ส่วนข้อห้ามประจำมีดหมอของหลวงพ่อเดิมนั้น คือ ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต นอกจากจะป้องกันตัวเท่านั้น ห้ามนำมีดของท่านไปใช้ในทางที่ผิด เช่น รังแกคนอื่น อย่าเป็นชู้กับเมียคนอื่น ถ้าไม่จำเป็นอย่าให้สตรีที่มีรอบเดือนถูกมีดหมอของหลวงพ่อเดิม

ในปัจจุบันมีดหมอของหลวงพ่อเดิมแท้ๆ นั้นหายากมาก มีบางคนหัวใสนำมีดหมอแท้ๆ ของหลวงพ่อเล่มเดียว แยกตัวมีดออกแล้วทำฝักและด้ามใหม่ ส่วนตัวฝักและด้ามของแท้นำใบมีดของใหม่มาประกอบ ทำให้มีดเล่มเดียวแต่แยกขายได้ถึงสองเล่มครับ มีคนเคยโดนมาแล้ว ปัจจุบันมีดหมอหลวงพ่อเดิมแท้ๆ นั้นมีสนนราคาแพงมากและหายากมาก

วันนี้ได้นำรูป มีดหมอหลวงพ่อเดิมขนาดเล็ก แบบมีดปากกามาให้ชมกันหนึ่งเล่ม
ด้วยความจริงใจ  แทน ท่าพระจันทร์  ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด

มีดหมอ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพมีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ มีดหมออันดับ1 ของวงการเครื่องรางของขลัง
รูปหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
รูปหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
ประวัติมีดหมอหลวงพ่อเดิม หรือ มีดเทพศาสตราวุธ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ ที่ท่านสร้างไว้มี 2 ขนาด มีดหมอขนาดใหญ่ เรียกว่า มีดควาญช้าง  ขนาดเล็กลงมาเรียกว่า มีดหมอปากกา ใช้พกพาติดตัวได้
 หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ท่านได้เริ่มสร้าง มีดหมอ มาตั้งแต่ปี 2456 บ้างก็ว่า สร้างราวๆ ปี 2460 ก็แล้วแต่ตำราแต่ละเล่มที่ค้นคว้าหาหลักฐานมาได้  คงไม่ได้ต่างกันมากนัก
 ในช่วงสมัยแรกๆนั้น ศิษย์แต่ละคนต่างว่าจ้างช่างทำกันเอง แล้วเอามาให้หลวงพ่อลงจารอักขระ และปลุกเสกให้  ต่อมามีคนสนใจมากขึ้น ทางวัดก็ได้ได้จ้างช่างชาวอำเภอพยุหะคีรี ให้ตีมีดส่งวัดโดยตรง
 ช่างตีมีดมีหลายคน อาทิ ช่างไข่ ช่างฉิม ช่างสอน ช่างแม้น โดยจะเน้นแกะสลักใบมีด เป็นลายต่างๆ เช่น ลายเทพพนม ลายนาคเกี้ยว ลายน่องสิงห์  ลายกระหนกผีเสื้อ และ ลายเสมาใบโพธิ์  มีดหมอหลวงพ่อเดิม ที่ท่านสร้างนั้น ได้ออกแบบใช้งานอื่นด้วย สำหรับชาวบ้านในยุคนั้น คือ มีดใหญ่ใช้ควาญช้าง บังคับช้างให้เชื่องเพราะ ว่ากันว่า หลวงพ่อเดิม ท่านชำนาญวิชาคชสาร ใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวได้  รวมทั้งฟันหาสมุนไพรในป่า ฯลฯ
 ในฐานะเครื่องรางของขลัง ก็ถือว่า มีดหมอ เป็นวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์ชั้นยอดเพราะ ใช้ป้องกันคุณไสย กำบังศัตรู ขับไล่ภูตผีปีศาจ ป้องกันอสรพิษเขี้ยวงา ได้เป็นอย่างดี  เรียกว่าใช้ได้สารพัดสรรพคุณ
 เชื่อกันว่า มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ยังมีอานุภาพพุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี รวมทั้งสามารถเสริมสร้างบารมี เป็นมหามงคลแก่ผู้ที่มีไว้สักการบูชาอีกด้วย
มีดหมอ อันดับ1 มีดเทพศาสตราวุธ ของวงการนักสะสม
 สรุปก็คือ มีดหมอหลวงพ่อเดิม มีคุณวิเศษ ครอบจักรวาล เป็น มีดเทพศาสตราวุธ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ ที่ใช้ได้ทุกด้านเลยทีเดียว

 การปลุกเสกมีดหมอ ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เมื่อช่างตีด้ามมีด และปลอกมีดเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อเดิมจะบรรจุแผ่นโลหะชิ้นเล็กๆ ที่ได้ลงเหล็กจารอักขระยันต์ต่างๆ ไว้แล้ว หรือแผ่นตะกรุด รวมทั้งผงวิเศษ และเส้นผมของท่าน เข้าไปในแกนกลางของด้ามมีด จากนั้นจึงให้ช่างตีเข้าด้ามให้แน่น แล้วรวบรวมมีดหมอทั้งหมดที่ช่างสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้หลวงพ่อปลุกเสกพร้อมๆ กันอีกครั้งหนึ่ง
 คุณวิเศษใน"มีดหมอ"หรือ มีดเทพศาสตราวุธ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ ที่ผ่านการบรรจุวัตถุธาตุมงคล คาถาอาคม ที่ลงไว้ กับพลังปราณอันบริสุทธิ์ของหลวงพ่อเดิม ทำให้มีดหมอของท่านมีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง นับเป็นวัตถุมงคลชนิดเครื่องรางของขลัง ตระกูล "มีดหมอ" อันดับหนึ่งของเมืองไทย ที่โด่งดังมานานปี
 ในระยะหลัง ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเดิม มีมากขึ้น ความต้องการ มีดหมอ ก็มีมากขึ้นด้วย ทำให้ท่านต้องปลุกเสกให้คราวละมากๆ โดยไม่ได้บรรจุแผ่นทอง ตะกรุด ผงวิเศษ หรือเสันผม เอาไว้เหมือนกับ มีดหมอรุ่นแรกๆ แต่หลวงพ่อเดิม ได้ให้ตอก อักขระยันต์ ที่ปลอกรัดด้ามมีดแทนแล้ว จากนั้นหลวงพ่อจะปลุกเสกให้ เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
 การพิจารณา มีดหมอหลวงพ่อเดิมของแท้  ก่อนอื่นจะต้องพิจารณา ความเก่า ชนิดของเหล็กใบมีด ความเก่าของด้ามงา ฝักไม้ แผ่นรัดด้าม และปลอกมีด ส่วนใหญ่ ปลอกมีดจะเป็นแผ่นเงิน   มีจำนวนน้อยที่เป็น แผ่นนาก หรือ สามกษัตริย์
 อันดับต่อมาต้องพิจารณาที่ สีของใบมีด จะต้องมีความเก่า ออกขาวอมเหลืองเล็กน้อย ไม่ขาวมันวาวเหมือนของใหม่ และเนื่องจากคนสมัยก่อนส่วนใหญ่มักจะใช้มีดหมอหลวงพ่อเดิมในงานต่างๆ ประเภทมีดอเนกประสงค์ ใบมีด จึงมักจะขึ้นสนิม มีสนิมกัดกร่อน มีรูพรุนเล็กๆ มีสนิมขุมเกิดเองตามธรรมชาติ และแผ่กระจายตัวทั่วไป จะไม่มีความเรียบร้อย ราบเรียบสวยงามมันวาวแต่ประการใด
 นอกจากนี้ มีดหมอของปลอม บางด้ามจะสร้างภาพให้ดูเหมือนกับเป็นของเก่า โดยเอาน้ำยาเคมีมากัดใบมีดให้เกิดเป็นสนิม เป็นปื้นใหญ่ๆ หรือเป็นด่างๆ โดยเจตนาทำขึ้น รอยด่างหรือสนิม จึงไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เหมือนกับของแท้  หากพิจารณาบ่อยๆ และนำมาเปรียบเทียบกัน จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
 ในส่วนของ ลวดลาย ที่แกะสลักบนใบมีด และด้ามมีดนั้น ของแท้ จะเป็นการแกะลายเส้นทีละน้อย และใช้วิธีการ ตอกลาย บนใบมีด  ส่วน ของปลอมของเลียนแบบ มักใช้วิธีเจียรลายติดกันเป็นพืดๆ ของแท้จะมีความละเอียด อ่อนช้อย งดงามประณีตมาก คราวนี้มาถึงเรื่อง งาช้าง ที่เอามาทำด้ามมีด จะมีความฉ่ำ ผิวงามันใส มีโทนสีอ่อนแก่ ขึ้นกับงาช้างที่นำมาทำ และจะมี ความเก่า เป็นธรรมชาติมาก ของเลียนแบบทำใหม่ งาช้างจะไม่ฉ่ำ ดูด้านๆ และเนื้องาจะสดใสดูเป็นงาใหม่
 ขณะเดียวกัน ฝีมือช่างแกะ ก็เป็นส่วนสำคัญ คนที่ชำนาญในการดู มีดหมอหลวงพ่อเดิม จะบอกได้เลยว่า มีดหมอด้าม ไหน เป็นฝีมือช่างคนไหน ชื่ออะไร เพราะช่างที่แกะสลักแต่ละคนจะมีฝีมือที่แตกต่างกัน ลายแกะ น้ำหนักมือที่แกะสลักจะหนักเบาไม่เท่ากัน  ช่างแต่ละคนจะรู้การตอกลายบนใบมีด ลายถักของวงรัดด้ามมีด และปลอกมีด ไม่เหมือนกันทั้งหมด จุดนี้ก็มีส่วนสำคัญในการพิจารณา มีดหมอของแท้ ได้เช่นกัน
  มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นับเป็นวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ที่น่าสนใจมาก นอกจากเป็นวัตถุโบราณที่มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธคุณครอบจักรวาล  ยังถือได้ว่าเป็น งานศิลปะชั้นสูง ที่เกิดมาจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เป็นคนไทยแท้ๆ มาแต่โบราณกาล
มีดหมอหลวงปู่เขียว วัดห้วยเงาะ


อ้างอิงจาก   http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538682296&Ntype=40

มีดที่ไม่ต้องลับ

มีดที่ไม่ต้องลับ
สุรศักดิ์ ไวทยวงศ์สกุล

    มีดเป็นอุปกรณ์ทำครัวสามัญอย่างหนึ่ง ปัจจุบันมีดที่เราใช้มักทำจากเหล็กกล้า มีราคาไม่แพง ทนต่อการเกิดสนิม ได้ดีกว่าเหล็กทั่วไป จึงมีอายุใช้งานได้ยาวนานพอสมควร อย่างไรก็ตามมีอยู่ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้ต้องประสบอยู่เสมอก็คือ มีดทื่อ หรือสูญเสียความคม ทำให้ต้องลับมีดกันอยู่บ่อยๆ เพื่อให้มีดคมใช้งานดุจเดิม สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้มีดทื่อก็คือ การบิ่นของคมมีด เนื่องจากเหล็กกล้ามีความแข็งไม่สูงมาก เมื่อใช้ไปนานๆ เนื้อเหล็กบริเวณคมมีด อาจสึกหรอ จนกระทั่งทื่อไป จึงมีแนวคิดหาที่จะวัสดุอื่นมาใช้ทำใบมีดแทนเหล็กกล้า เพื่อให้ได้ใบมีด ที่มีความคมอยู่เสมอ โดย “ไม่ต้องลับ” เซรามิกเป็นวัสดุหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความแข็งสูง ไม่สึกกร่อนหรือบิ่นง่าย อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญของเซรามิก ก็คือมีความเปราะไม่เหนียว รับแรงกระแทกจากการใช้งานได้น้อย จึงได้มีการวิจัยพัฒนา เพื่อหาวัสดุเซรามิกที่มีสมบัติด้านความเหนียวดีพอที่จะใช้ทำใบมีดได้ 
    เซอร์โคเนียมออกไซด์หรือเซอร์โคเนีย (Zirconia) เป็นวัสดุหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนา ให้มีสมบัติเหมาะสม ต่อการทำเป็นใบมีดที่ไม่ต้องลับดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์พบว่า หากเติมสารตัวเติมบางตัว เช่น ยิตเตรียมออกไซด์ (Y2O3) จำนวนเล็กน้อย ลงในเซอร์โคเนีย จะทำให้โครงสร้างของเซอร์โคเนียที่เผาแล้ว คงรูปเป็นผลึกรูปเททราโกนัล (Tetragonal) แม้จะเย็นตัวลงถึงอุณหภูมิห้องแล้ว เรียกว่า เททราโกนัลเซอร์โคเนียโพลิคริสตัล (Tetragonal Zirconia Polycrystal) หรือ TZP เซอร์โคเนียชนิด TZP นี้มีความเหนียวดีมาก ไม่แตกหักง่าย แม้จะทำหล่นพื้นก็ตาม การผลิตใบมีด คล้ายกับวิธีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ เซรามิกทั่วไป คือ นำผงเซอร์โคเนียผสมแล้ว ไปอัดในแบบ และนำไปเผาผนึกให้เป็นชิ้นงาน จากนั้นจึงนำมากลึงด้วยใบมีดเพชร และขัดตกแต่งเพื่อให้เกิดความคม
     มีดที่ทำจากเซอร์โคเนียชนิด TZP นี้นอกจากจะมีจุดเด่น ตรงที่ไม่ต้องลับบ่อยๆ แล้ว ยังมีความคมกว่ามีดทั่วๆ ไป ทนต่อสารเคมีต่างๆ ได้ดี น้ำหนักเบา มีผิวลื่น การทำความสะอาดทำได้สะดวก โดยใช้เพียงผ้าเช็ดเท่านั้น คราบสกปรก ก็จะหลุดออกจากมีดอย่างง่ายดาย การดูแลรักษาไม่ต่างจากมีดเหล็กกล้าธรรมดา อย่างไรก็ตาม มีดที่ไม่ต้องลับนี้ หากใช้งานอย่างไม่ถูกวิธี เช่น นำไปสับกระดูกแข็ง ก็สามารถเกิดการชำรุด สูญเสียความคมไปได้เช่นกัน และการลับ เพื่อให้ความคมกลับคืนมานั้น ต้องกลึงด้วยเครื่องกลึง ที่ทำจากผงเพชร ซึ่งผู้ใช้ไม่สามารถทำได้เอง ประกอบกับยังมีราคาค่อนข้างสูง เป็นข้อจำกัด ที่ทำให้มีดเซรามิก ยังไม่ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลายมากนักในขณะนี้ 
    สุดท้ายนี้อยากฝากข้อคิด ถึงท่านผู้ฟังทุกท่านสักเล็กน้อยว่า มีดจะคมกริบใช้งานได้ดี ด้วยการหมั่นลับอยู่เสมอฉันใด ปัญญาของคนเราก็เช่นกัน หากต้องการให้คงความแหลมคมตลอดไป ก็ต้องหมั่นลับสติปัญญา ด้วยการใช้ความคิด และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น


การลับมีดลักษณะต่างๆ

ตอนที่ 1

“คมมีด”
คมมีดมีหลายลักษณะ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ และลักษณะการใช้งานอาทิ เช่น

Hollow Ground
คือการทำคมมีดแบบเว้าด้านข้างของใบมีด คมมีดแบบนี้ผมเพิ่งทราบจาก “น้าน้อย” แห่งหมู่บ้านอรัญญิกเมื่อไม่นานมานี้ท่านเรียกว่า “แอ้ว” คือช่างตีมีดจะตีส่วนของใบมีดให้เป็นแอ่งเว้าลงไป เมื่อคมมีดฟันผ่านเนื้องาน จะเกิดแรงเสียดทานที่น้อยกว่า และทุ่นแรงในการฟันไม้ทั้งน้ำหนักในการฟัน และ จำนวนครั้งที่ฟัน คมมีดแบบนี้สามารถจะอยู่ในมีดได้ทั้งขนาดเล็ก กลาง หรือแม้แต่มีดที่ใหญ่ แต่แน่นอน มีดขนาดใหญ่มักจะมีความหนาที่หนาตามขึ้นไปด้วย เท่าที่เห็นในท้องตลาด คมมีดแบบนี้มักจะอยู่ในมีดขนาดใบไม่เกิน 4 นิ้ว และมีดฝรั่งที่สร้างชื่อมาช้านาน คือ Bob Loveless

Flat Grind
การทำคมมีดชนิดนี้อาจจะทำได้ 2 ลักษณะ ได้แก่การการทำคมมีดที่มีพื้นที่หน้าตัดทางด้านความหนาของมีดเป็นทรงตัว V ในอักษรภาษาอังกฤษ และอีกลักษณะหนึ่ง ใบมีดแบบเสมอกัน หรือเกือบเสมอกัน แล้วไปทำมุมที่ส่วนคม คือคมมีดชนิดนี้ สามารถทำให้หนา และบางได้ต่างๆกันไป คมมีดแบบนี้เป็นที่นิยมในการผลิตมีดอย่างกว้างขวา ทั้งนี้น่าจะมาจากความง่าย ไม่ซับซ้อนทางการผลิต

Convex
คมมีดแบบนี้มีลักษณะโค้งมน ทั้ง 2 ด้านของคมมีด ลักษณะคมมีดจะหนา ผู้ผลิตราบใหญ่ที่นิยมทำคมมีดแบบนี้ให้เหตุผลว่า เป็นคมมีดที่มีความคงทนสูง และสามารถผลิตได้โดยการตั้งคมด้วยมือ หรือความชำนายของช่างเท่านั้น

Chiesel Grinding หรือคมแบบสิ่ว คมมีดแบบนี้ เช่นสิ่วนั่นเอง ถูกออกแบบให้สามารถกินลึกเข้าสู่เนื้อไม้ได้ดี หรือหากเอาไปใช้ในการทำอาหาร จะทำให้อาหารที่ถูกเฉือนล้มลงไปทางด้านที่คมมีดปาดเฉียง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ผู้ที่ถนัดซ้าย ส่วนของคมมีดที่ถูกปาดออกต้องอยู่ด้านซ้าย และจะอยู่ด้านขวาเมื่อผู้ใช้มีดถนัดขวา คมมีดแบบนี้จึงน่าจะถูกจำกัดด้วยความถนัดของบุคคลที่ใช้มัน

นอกจากคมมีดหลายแบบข้างต้นแล้ว ผู้เขียนยังเคยเห็นคมมีดแบบผสมในมีดเล่มเดียวกันในมีดที่ออกแบบเป็นมีดแนว Tanto ของญี่ปุ่นที่ฝรั่งเอาไปผลิต (ผู้เขียนต้องขออภัยที่มิได้กล่าวถึงมีดของญี่ปุ่น เนื่องจากขีดจำกัด ไม่มีความรู้เพียงพอ) เช่นมีดของ Bob Lum เป็นแบบผสมระหว่าง Hollow Ground ที่ส่วนท้องของมีด และไปหนาที่ส่วนปลาย คมมีดแบบนี้ผู้เขียนเห็นว่าเป็นคมมีดในอุดมคติของมีดเชิงยุทธวิธีจนไปถึงมีดยังชีพ (จนเอาแนวคิดไปออกแบบ Dickier l) ด้วยเหตุผลที่ว่าคมมีดบางเกินไปแม้จะคมเฉียบ แต่ความทนทานจะเสียไป และคมมีดที่หนาเกินไปก้อาจจะไม่คมเฉียบเท่ากับมีดที่คมบางกว่า แนวคิดในการออกแบบมีดลักษณะนี้อาจจะไม่ใช่ของใหม่เพราะมีดอีเหน็บของไทยก็ไม่คมหนา ไปบางที่ส่วนปลายมีด และการใช้อีเหน็บก้จะเลือกใช้คมของมีดตามวัตถุประสงค์ เทคโนโลยีทางการผลิตมีดในปัจจุบันพัฒนาไปมาก แนวคิดของการผสมผสานคมมีดปัจจุบันจึงอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือสามารถเอาส่วนที่คมหนาไปไว้ที่ปลายมีดแทน เพื่อประโยชน์ในการเจอะ แงะ หรืองัดแงะสิ่งต่างๆ


ไม่ว่าคมมีดจะเป็นแบบใดก็ตาม ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า องสาของคมมีดมีอยู่เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่พวกต่างๆดังนี้

1. 17 – 30 องสา สำหรับมีดทำครัวเฉพาะ หรือมีดใช้งานทั่วไป
2. 30 – 40 องสา สำหรับมีดใช้งานทั่วไป และมีดที่เน้นการต่อสู้เรื่อยไปจนถึงมีดขนาดใหญ่ใบยาวถึง 9 – 10 นิ้ว
3. 60 – 70 คงสา ซึ่งเป็นคมขวาน

การลับมีด




หินลับมีดจะมี 2 แบบ คือ ด้านหนึ่งมีลักษณะหยาบ อีกด้านมีลักษณะละเอียด แต่หินลับมีดบางรุ่นจะมีทั้ง 2 ด้าน อยู่ในก้อนเดียวกัน ไม่ว่าหินลับมีดจะเป็นแบบใด เราก็สามารถ ใช้ลับมีดของเราได้ดีทั้งสิ้น มันอยู่ที่วิธีการลับมีด ไม่ใช่หินที่ลับ การใช้น้ำหรือน้ำมันเข้าช่วยในขณะที่ทำการลับมีดนั้นจะช่วยให้ลับมีดได้คมดียิ่งกว่าเอามีดมาถูกับหินลับแบบ แห้งๆ น้ำหรือน้ำมันจะช่วยลดความฝืดทานยามที่ใบมีดเสียดสีกับหิน และช่วยยืดอายุการใช้งานของหินลับออกไปได้อีกด้วย ขั้นตอนการลับมีดก็มีดังนี้
1. ก่อนลงมือลับมีด ให้หยดน้ำมันลับมีดลงบนหินลับมีดเสียก่อน ถ้าหาน้ำมันไม่ได้ ให้ใช้น้ำธรรมดา จุดมุ่งหมายก็เพียงแต่ต้องการลดแรงเสียดทานเท่านั้นเอง ถ้าลับมีดแบบ แห้งๆ หินลับมีดจะชำรุดเร็ว

2. วางใบมีดให้ทำมุมกับตัวหินลับมีดราว 20 º แล้วเลื่อนใบมีดไปทางหนึ่งทางใดราว 10 ครั้ง แล้วกลับคมอีกด้านเพื่อทำแบบเดียวกันหรือลับไปจนกว่าเราจะพอใจในความ คมของมัน

ตอนแรกให้ลับมีดด้านหยาบก่อน จากนั้นจึงค่อยมาลับกับหินลับทางด้านละเอียด(หินลับทางด้านหยาบลับให้คม ส่วนหินลับทางด้านละเอียดจะใช้ในการยกและปรับคมมีดที่คม ดีแล้วให้ราบเรียบสนิท การปรับคมมีดเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นพอๆกับการลับคมมีด

กระบวนการใบมีดนี้เรารู้จักกันในชื่อ"การทำคมใบมีดให้เป็นแนวตรง" อนึ่งความลื่นเป็น อุปสรรคต่อการที่จะจรดใบมีดให้ได้เหมาะ วิธีที่ได้ผลก็คือ ใช้นิ้วมือตรงกลางทั้งสามกดลงบนใบมีดเพื่อให้ติดอยู่กับหน้าหินตลอดเวลาที่ลากใบมีด พยายามให้นิ้วมืออยู่ ห่างออกมาจากคมมีด

3. ดึงใบมีดให้ไปทางเดียวกันเหมือนกับว่า เรากำลังจะตัดฝานหินลับมีดหรือเฉือนเนื้อหินนั่นเอง อย่าดึงใบมีดให้หนักเกินไปหรือเบาเกินไป ทำให้พอเหมาะพอดี ข้อควร ระวังก็คืออย่าจับใบมีดในลักษณะแบนราบแนบหินลับมีดมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดรอยขีดข่วนที่เรียกกันว่า "ขนนก" หรือ "ขนแมว" บนใบมีด ทำให้หมดความสวยงาม ไปเปล่าๆ

4. หลังจากลับมีดจนคมแล้วให้ทดสอบกับกระดาษธรรมดาๆแผ่นหนึ่ง ถ้ามีดนั้นคมจริง จะสามารถเฉือนกระดาษออกได้อย่างง่ายดายหลายๆครั้ง แต่ถ้ายังไม่คมพอก็ต้องลับ ใหม่

เมื่อลับมีดจนคมเป็นที่พอใจแล้ว จึงชะโลมน้ำมันบนใบมีดอีกครั้งหนึ่ง และอย่าลืมทำความสะอาดหินลับมีดด้วย กล่าวได้ว่าการลับมีดเป็นทั้งวิธีการและศิลปะ สำหรับวิธีการ นั้นก็ได้กล่าวไปแล้ว ส่วนศิลปะเป็นสิ่งที่จะต้องเพียรทำ ถ้าเรามีใจรัก เราก็อาจจะเป็นนักเลงมีดที่ดีได้ คำว่า "นักเลงมีดที่ดี" นั้น ในที่นี้หมายความว่าเป็นคนรู้จักใช้และถนอม มีดนั่นเอง ไม่ใช่ผู้ที่นำมีดเอาไปไล่ฟันไล่แทงผู้อื่น

อ้างอิงจาก   http://travel.thaiza.com/

วิธีการพกและใช้มีดในการป้องกันตัว

ตอนที่ 1

เพื่อนสมาชิกในเว็บ konrakmeed.com ได้ตั้งคำถามไว้ ถึงเรื่องมีดที่เหมาะกับการ “ต่อสู้-ป้องกัน”

ในเครื่องหมายคำพูดนั้น เป็นคำที่ผู้ถามใช้มา ผมเองได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า
เพื่อสมาชิกท่านนี้เข้าข่ายเป็นพวกกลุ่มเดียวกับผม คือน่าจะเป็นสุภาพชน
ที่มักจะเป็นเหยื่อ มากกว่าเป็นฝ่ายก่อความเดือดร้อน ทำร้ายผู้อื่น

จากการที่ผมอยู่ท่ามกลางคนที่เป็นนักต่อสู้ที่เก่งมาก เก่ง พอใช้
และไม่ค่อยได้เรื่องอย่างผม แต่พอจะสนใจ หรือมีข้อมูล
มีความเห็นเกี่ยวกับมีด ผมจึงอยากรวบรวมเอาไว้ตรงนี้

“มีด”นั้น นอกจากมีอรรถประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะใช้ดำรงชีพ
ใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันแล้ว ยังสามารถใช้เป็นอาวุธในการป้องกันตัวด้วย

จากการศึกษาเก็บเกี่ยวข้อมูลจากผู้รู้
ผมอยากทำเป็นข้อสรุปตามความเชื่อของผมเองว่า “มีด เป็นอาวุธลับ”
สำหรับสุจริตชน ทั้งนี้อาชญากรอาจจะเอาไว้ใช้ข่มขู่ ทำร้าย หรือ ฆ่าแกงผู้อื่น แต่สุจริตชนย่อมไม่ทำ
เมื่อแนวคิดข้างต้นเป็นเช่นนั้น ผมจึงอยากสรุปว่ามีดในมือสุจริตชน
สมควรเป็นอาวุธลับ มากกว่าสิ่งอื่นใด เพราะจะเอาออกมาใช้ต่อสู้เมื่อถึงคราวต้องป้องกันสวัสดิภาพของตน
หรือบบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น แนวคิดเรื่องมีด จึงสามารถนำไปคิดต่อได้ดังต่อไปนี้

มีด ไม่ได้มีความเก่งกาจมากมายจนทำให้ผู้ที่อ่อนแอกว่า
หรือด้อยสมรรถนะในการต่อสู้ด้อยกว่าอีกฝ่ายหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นการได้เปรียบเสมอไป
และยิ่งอีกฝ่ายหนึ่งรู้ตัวล่วงหน้า ก็อาจจะเอาอาวุธอื่นๆที่หาได้
หรือที่พกพามาออกมาแก้ไขสถานการณ์ และลดข้อเสียเปรียบ
ดังนั้นสุจริตชนที่มักจะอยู่ในข่ายด้อยสมรรถนะกว่า (มิเช่นนั้น คนร้ายคงไม่คิดลงมือ)

ผมเคยอ่านแฟ้มคดีของตำรวจอเมริกาที่ตัดสินใจชักปืนยิงคนร้าย
ที่ถือมีดยืนห่างจากคู่หูของเขา 7 เมตร และขึ้นศาล
แมสซาท อายุบ ผู้เชี่ยวชาญอาวุธศึกษา ได้เข้าให้การช่วยเหลือตำรวจนายนั้น
ด้วยการสาธิตอันตรายจากคนร้ายที่ถือมีดว่าสามารถเข้าทำร้ายตำรวจที่ยืนห่างเพียง 7 เมตร
ได้ภายในพริบตาเดียว (ผมจำไม่ได้ว่ากี่วินาที) ในแฟ้มคดีดังกล่าว ไม่ได้บอกไว้ว่าการสาธิตทำอย่างไร

ภายหลัง ผมได้มีโอกาสพบกับนักต่อสู้มือดีท่านหนึ่ง และผมขอให้แสดงให้ผมดูว่า ระยะ 7 เมตร
เขาสามารถเข้าทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งด้วยมีดได้รวดเร็วแค่ไหน
ภาพที่เห็นการสาธิตคือนักสู้ท่านนั้นกระโดดก้าวยาวๆ 2 – 3 ก้าว
แล้วกระโดดครั้งสุดท้ายก็ฟันคออีกฝ่ายหนึ่งได้ทันที
(นึกภาพการก้าวกระโดดเพื่อชู้ตลูกบาสเก็ตบอลเข้าตะกร้า)

แนวคิดข้างต้นคงจะเป็นข้อมูลได้บ้างว่าระยะห่างแค่ไหนที่สุจริตชนคิดว่าอยู่ในวิกฤติ
และมีดที่เคยคิดว่าเอาไว้ต่อสู้-ป้องกันจะต้องพร้อมในมือ และมีดที่เหมาะสมควรจะมีลักษณะเช่นไร
Dick
ตอนที่ 2

“มีด” ในความหมายของมีดที่ใช้ต่อสู้-ป้องกัน
ในที่นี้ สมควรจะหมายถึงมีดพกเพียงอย่างเดียว
โดยทั่วไป มีดพก น่าจะมีขนาดใบมีดประมาณ 1.5 – 9 นิ้ว
ขนาดความยาวของใบมีดที่นิยมกัน น่าจะมีขนาดตั้งแต่ 1.5 – 4 นิ้ว
ทั้งนี้ในบางประเทศอย่างอเมริกา มีกฎหมายให้สามารถพกมีดได้ไม่เกิน 4 นิ้ว
ดังเรามักจะเห็นมีดจากแหล่งนี้ ส่วนใหญ่มีความยาวไม่เกิน 4 นิ้วจำนวนมาก

มีพก มีทั้งแบบที่พับได้ และแบบพับไม่ได้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าใบตาย
ฝรั่งเรียกว่า Fixed Blade คือใบมีดพับไม่ได้

มีดพับมีความเด่นตรงที่สามารถทำให้เหลือครึ่งหนึ่งของขนาดความยาว
ในปัจจุบัน มีดพับ มีระบบล็อกกันไม่ให้ใบมีดพับมางับมือคนใช้มีด
และยังสามารถเปิด-ปิดใบมีดได้ด้วยมือเดียวอีกด้วย นอกจากนี้ ยังออกแบบคลิ้ป
ให้สามารถเหน็บกับขอบกางเกง ทำให้การพกพายิ่งสะดวกขึ้นมากมาย

มีดใบตาย มีดใบตาย สำหรับการพกพา และโดยเฉพาะที่เอื้อต่อการใช้ต่อสู้-ป้องกันนั้น
ลักษณะการพกพา มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

ทั้งมีดพับ และมีดใบตาย การพกพาที่แนบเนียน เป็นสาระสำคัญยิ่ง
เมื่อพกพาแนบเนียนแล้ว ยังต้องสามารถเอาออกมาใช้ได้รวดเร็วด้วย

มีดพับที่ดี กลไกการเปิดใบมีดต้องราบเรียบเป้นสำคัญ
ส่วนระบบล็อกใบมีดนั้น ผมคิดว่าระบบล็อกแบบ liner lock ดีที่สุด ทั้งนี้อาจจะไม่แข็งแรงที่สุดก็ตาม

บนพื้นฐานของแนวคิดที่ว่า “มีด คืออาวุธลับ”
มีดพับระบบ Liner lock สามารถเปิด และปิดใบมีดได้แนบเนียนที่สุด
เราได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ ว่าระยะปลอดภัย น่าจะอยู่ไกลเกินกว่า 7 เมตร
ดังนั้น หากสุจริตชน เห็นว่า สวัสดิภาพของตนเอง และผู้ร่วมทางอยู่ในอันตราย
การเตรียมพร้อมให้มีดอยู่ในมือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง และถ้าเป็นมีดพับ มีดเล่มนั้นน่าจะถูกเปิดออกแล้ว

มีพับระบบ Liner Lock







ผมได้ยินนักต่อสู้ป้องกันตัวจำนวนหนึ่ง แสดงความเห็นไว้ว่า มีดพับ
ในสภาวการณ์วิกฤติ หรือคาดว่าวิกฤติ นั้น ใบมีดน่าจะต้องถูกเปิดออกเตรียมไว้
เพื่อจะได้แก้ปัญหาได้ทันการ ซึ่งสุจริตชนอาจจะอาศัยช่วงนาทีทอง
จู่โจม-ป้องกันก่อนจะรีบหนีออกจากเหตุการณ์ณ์อันตรายเบื้องหน้าได้ทัน
มีดพับแบบ liner lock เอื้อต่อการเปิด และปิดใบมีดด้วยมือข้างเดียว ไม่ว่าจะอยู่ในท่าใด
ในความหมายของการเป็นอาวุธลับ การเปิด-ปิดใบมีดจะต้องไม่สร้างความแตกตื่นโกลาหน
และไม่เป็นที่สังเกตของคนร้าย ซึ่งมีดแบบนี้ สามารถเปิด-ปิดใบมีดออกได้อย่างแนบเนียน
แม้ว่าจะอยู่ในท่ามือกอดอกอยู่ และยังสามารถปลดล็อกใบมีด พร้อมปิดได้อย่างแนบเนียน
ไม่เป็นที่สังเกต ซึ่งแตกต่างจากมีดแบบอื่นส่วนใหญ่ ที่ไม่สามารถผิดใบมีดได้แนบเนียนเท่า

มีดเชิงต่อสู้-ป้องกัน ไม่จำเป็นต้องแข็งแรงที่สุด แต่ต้องมีระบบที่เชื่อถือได้
ดังนั้นมีดใหญ่ๆ หนักๆ แข้งแรงมากๆ บางครั้งมีลวดลายพรางแบบทหารก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น
ทั้งนี้บางครั้ง สุจริตชนอาจจะคิดว่า มันหนัก มันเป้นภาระจนไม่อยากพกติดตัว
อนึ่งการพกพามีดลักษณะแบบนี้ยังอาจจะเป็นที่สังเกต
และยากต่อการอลุ่มอล่วยจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกด้วยเมื่อถูกตรวจค้น

ผมอยากสรุปว่า มีดพับที่เหมาะต่อการพกพาเพื่อการป้องกันตัวน่าจะมีลักษณะดังนี้

- เบา พกสบาย
- ดูเรียบร้อย ไม่คุกคาม
- มีระบบที่เรียบลื่น และล็อกที่ไว้ใจได้

ส่วนมีดใบตายนั้น จะน่าใช้ คงต้องอยู่ที่ซองมีด และวิธีพกพา
ซองมีดต้องยากต่อการถูกแย่งชิง ยากต่อการตกหาย หรือตกลงพื้นโดยอุบัติเหตุ
การใช้มีดใบตายนั้น บางครั้งการชัดมีดออกเตรียม อาจจะน้อยกว่ามีดพับ
ทั้งนี้การชักมีดพับออกมาบริหารกลไกภายใต้ภาวการณ์ตื่นเต้นอาจจะทำมีดหลุดมือได้
ซึ่งเรื่องนี้ ไม่เกิดกับมีดใบตาย

นักต่อสู้ด้วยปืนที่เก่ง แนะนำไว้ว่า การเอามือผลักหน้าคนร้าย
หรือทำลายจังหวะก่อนการชักปืนออกมาเป็นสิ่งควรทำ เพื่อเลี่ยงการกอดรัดแย่งชิงอาวุธ
ซึ่งผมเชื่อว่าระบบของมีดก็คล้ายกัน

มีดใบตายที่ดี น่าจะเป็นแบบที่พกพาได้แนบเนียน มีดไม่ตกหาย
ซองมีดเอื้อต่อการชักมีดออกมา ในขณะที่ยากต่อการแย่งชิง ปลดอาวุธ

การพกพามีดใบตายที่น่าสนใจ

การพกพาแบบนี้

โดยส่วนตัวผมเห็นว่ามันอาจจะชักมีดได้รวดเร็ว
และสามารถชักออกมาพร้อมการจู่โจมได้ในจังหวะเดียว แบบที่อีกฝ่ายหนึ่งคาดไม่ถึง
โดยส่วนตัว ผมไม่ชอบเอามากๆ
ผมเดาว่ามันเกิดจากแนวคิดในการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ กล่าวคือ
มีดต่างประเทสจำนวนไม่น้อย มีด้ามมีดที่หนัก และศูนย์ถ่วงอยู่ที่ด้าม
การทำหูเกี่ยวกับเข็มขัดจึงทำได้ยาก นอกจากวิธีนี้เอง จะแก้ปัญหาได้ดี
หากผมจะพกพามีดด้วยวินี้ ผมไม่สามารถมีสมาธิทำอย่างอื่น
เพราะต้องคอยคลำอยู่เรื่อยว่าเจ้ามีดราคาแสนแพงมันยังอยู่ที่เก่าหรือตกหายไปแล้ว



การพกพาแบบเอาด้ามมีดขึ้น ปลายมีดชี้ลง
แบบนี้เป็นแบบมาตรฐานที่นิยมมากที่สุดในโลก และผมคิดว่าแบบนี้น่าจะดีที่สุด
ซองมีดตามภาพนี้ อาจจะมีจุดอ่อนที่อาจจะถุกแย่งมีดจากด้านหลังได้



แบบนี้เหมาะกับการทำงาน หรือเอาไว้เดินป่า



แบบนี้ดีตรงที่มีดอยู่ด้านหน้า ทำให้การระมัดวังไม่ให้ถุกแย่งทำได้ง่ายกว่า



ผมไม่ได้พูดถึงซองมีดที่ทำด้วยหนัง เพราะยังไม่มีรูปตัวอย่าง
ส่วนซองมีดแบบ kydex เป็นงานของ KRM Performance
ในยุคต้นๆ และขณะนี้ ซองมีดพกพาสามารถทำได้สวยงาม ลงตัว
และยังเอื้อความสะดวก สบายในการพกพา ตลอดจนป้องกันการถูกแย่งได้ในระดับหนึ่ง


อ้างอิงจาก   http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t7365.html
 
ภาพ:Untitledklo.JPG
 
พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง
 

        พระแสงอัษฎาวุธ เป็นอาวุธของพระเป็นเจ้า (ตรี จักร ธนู) บ้างเป็นพระแสงอันเกี่ยวเนื่องทางประวัติศาสตร์ (พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง) บ้าง และอื่น ๆ อีกบ้าง
        ปีพศ.๒๑๒๖ พระเจ้าอังวะคิดแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงได้ สั่งให้ประเทศราช (เมืองแปร ตองอู เชียงใหม่ ลาว และกรุงศรีฯ)ยกทัพไปปราบ สมเด็จพระนเรศวรทรงรอโอกาสที่จะแข็งเมืองอยู่เช่นกัน จึงทรงเดินทัพช้าๆเพื่อรอ ฟังผลการรบ ถ้าทางหงสาวดีชนะก็จะทรงกวาดต้อนคนไทยกลับกรุงศรีอยุธยา แต่ถ้าทางหงสาวดีแพ้ก็จะทรงยกทัพไปตีซ้ำ แต่ว่าทางหงสาวดีก็ไม่ไว้ใจสมเด็จพระนเรศวรอยู่แล้วจึงคิดจะกำจัด โดยสั่งให้พระยาเกียรติและพระยารามซึ่งเป็นมอญไปรับเสด็จพระนเรศวรที่เมืองแครง รอตีขนาบหลังจากที่ทัพพระมหาอุปราชเข้าโจมตี
        ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระนเรศวรทำให้พระยาเกียรติและพระยารามนำความ เข้ามาปรึกษามหาเถรคันฉ่องพระอาจารย์ พระมหาเถรคันฉ่องจึงนำเรื่องกราบทูล สมเด็จพระนเรศวรและเล่าความจริงทั้งหมดที่ทางหงสาวดีคิดไม่ซื่อ สมเด็จพระนเรศวรทรงเรียกประชุมแม่ทัพนายกอง นิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมด้วยพระยาทั้งสองเข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน แล้วทรงเล่าเรื่องที่พระเจ้านันทบุเรงคิดไม่ซื่อจะหลอกฆ่าพระองค์
        เวลาในการประกาศอิสรภาพได้มาถึงแล้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงหลั่งน้ำลงเหนือแผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร(น้ำเต้าทอง) ทรงประกาศแก่เทพยดาต่อหน้าที่ประชุมว่า " ตั้งแต่วันนี้ กรุงศรีอยุธยาขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรต่อกันดังแต่ก่อนสืบไป " พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๑๒๗ ณ.เมืองแครง จากนั้นพระองค์ ทรงมีดำรัสถามชาวมอญที่อยู่ในเมืองแครงว่าจะอยู่ข้างไทยหรือพม่า ส่วนมากจะอยู่ข้างไทยแล้วทรงรับสั่งให้จัดทัพเพื่อไปตีเมืองหงสาวดี
        สมเด็จพระนเรศวรทรงยกกองทัพข้ามแม่น้ำสะโตง จวนจะถึงหงสาวดีก็ทราบข่าวว่าพระเจ้าหงสาวดีรบชนะพระเจ้า อังวะ และกำลังยกทัพกลับกรุงหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรทรงคิดพิจารณาแล้วว่า การจะตีหงสาวดีครั้งนี้คงไม่สำเร็จ จึงให้ทหารเที่ยวไปกระจายข่าวบอกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนมาให้เดินทาง กลับเมืองไทยได้จำนวนหมื่นเศษ สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ชาวบ้านข้ามแม่น้ำ สะโตงไปจนหมด แล้วพระองค์ทรงอยู่คุมกองหลังข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นชุดสุดท้าย(แสดงถึงความเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมและกล้าหาญมาก) ขณะนั้นพระมหาอุปราช(มังสามเกียด)ได้จัดทัพติดตามมาให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า แล้วมาทันกันที่แม่น้ำสะโตงซึ่งมีความกว้างประมาณ ๔๐๐ เมตร ทางพม่าก็ยิงปืนข้ามมาแต่ไม่ถูก สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่บนคอช้างริมแม่น้ำทรงประทับพระแสงปืนยาว ๙ คืบหรือ ๒ เมตร ๒๕ เซ็นติเมตร (แล้วทรงอธิฐานถ้าการ กู้ชาติสำเร็จขอให้ยิงถูกข้าศึก) ทรงยิงไปถูกสุรกรรมาตายอยู่บนคอช้าง ทำให้พม่าเกรงกลัวและถอยทัพกลับไป พระแสงปืนต้นนี้มีนามว่า “ พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงหลังจากนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา
        พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฎต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็น พระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้

อ้างอิงจาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php

พระแสงดาบญี่ปุ่น

พระแสงดาบญี่ปุ่น

จาก ThaiPoliticsGovernment

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา
ผู้เรียบเรียงพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภาพ:พระแสงดาบญี่ปุ่น.png‎

ลักษณะ

โลหะ,ไม้, ผ้า, หนังสัตว์
87.0 เซนติเมตร
ด้ามดาบหุ้มและถักด้วยด้วยหนังสัตว์ ปลายและโกร่งดาบทำด้วยโลหะสีเงิน มีลวดลายทิวทัศน์แบบญี่ปุ่น ดาบทำด้วยโลหะผสม โคนดาบหุ้มด้วยเงินแกะสลักลายมังกร ภูเขา และตัวอักษรญี่ปุ่น ตัวฝักทำด้วยไม้ลงรักสีน้ำตาล กลางปลอกฝักทำด้วยโลหะสีทองมีลวดลาย โคนและใต้ปลอกหุ้มด้วยโลหะเงินแกะลวดลาย ตรงกลางปลอกมีห่วงคล้องเชือก ปลอกด้านล่างมีปลอกเงินสำหรับใส่ที่ลับมีดสลักตัวอักษรญี่ปุ่น และมีลวดลาย มีเชือกถักทำด้วยผ้า ส่วนขาตั้งทำด้วยไม้กลึง

ประวัติความเป็นมา

พระแสงดาบญี่ปุ่นโบราณองค์นี้ จัดเป็นพระแสงดาบที่มีแนวเส้นโค้งงดงาม มีลักษณะที่สมดุลดี สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระแสงดาบญี่ปุ่นโบราณที่เสนาบดีญี่ปุ่นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา[1]
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดาบญี่ปุ่นได้กำหนดอายุพระแสงดาบนี้ไว้ในสมัยเมจิ หรือในราว ค.ศ. 1862 – 1912 ซึ่งเป็นสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นออกฎหมายห้ามซามูไรพกดาบติดตัว และนับแต่นั้นมา ดาบญี่ปุ่นได้กลายเป็นสมบัติอันล้ำค่าทั้งทางด้านความงามและคุณค่าทางประวัติศาสตร์ซึ่งหาได้ยากยิ่ง
ดาบญี่ปุ่นทำขึ้นด้วยกรรมวิธีการผลิตที่เป็นของญี่ปุ่นเอง คือ นำโลหะ 2 – 3 ชนิดมาเผา และตีครั้งแล้วครั้งเล่า จนได้ดาบที่มีความแข็งแกร่ง การเผาหลายๆ ครั้งจะช่วยให้ดาบแข็งแกร่งขึ้น และขั้นตอนสุดท้ายคือนำไปขัด
ดาบญี่ปุ่นที่มีลักษณะเป็นรูปโค้งและมีคมเพียงด้านเดียวนี้ ผลิตขึ้นในสมัยเฮอันและสมัยคะมะคุระ เส้นโค้งอันงดงาม รูปลักษณะที่สมดุล เพิ่มความงดงามให้แก่ดาบญี่ปุ่นเป็นอย่างยิ่ง ดาบญี่ปุ่นกลายเป็นอาวุธสำคัญเคียงคู่ซามูไรมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 – 18 โดยมีกฎระเบียบว่า ผู้ที่ไม่ใช่ซามูไรไม่มีสิทธิ์พกดาบ คำว่า “ซามูไร” หมายถึง นักรบผู้รับใช้โชกุนหรือไดเมียว ซามูไรจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อเจ้านาย และมีการสร้างหลักจริยธรรมของซามูไรขึ้น ซึ่งเป็นคุณธรรมที่นักรบทุกคนจะต้องให้ความสำคัญและยึดถือปฏิบัติ ลัทธิบูชิโดจึงถือกำเนิดเกิดขึ้น “บูชิโด” แปลว่า วิถีทางของนักรบ ( Bushi = นักรบ Do = วิถีทาง ) ซึ่งนักรบทุกคนจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม หลักจริยธรรมเหล่านี้พัฒนามาจากคำสอน ความคิด และความเชื่อของพระพุทธศาสนา ลัทธิขงจื๊อ และลัทธิชินโต สิ่งหนึ่งซึ่งซามูไรถือเป็นคติประจำใจ คือ “การตายเยี่ยงวีรบุรุษในสงคราม” ซามูไรจะพกดาบ 2 เล่มเสมอ คือ ดาบยาวและดาบสั้น ดาบยาวสำหรับต่อสู้ศัตรู ดาบสั้นสำหรับตัดศีรษะคู่ต่อสู้ที่มีศักดิ์เหนือตนเอง หรือเพื่อเกียรติยศของตนเอง
ต่อมาในราว ค.ศ. 1854 อเมริกาและยุโรปเริ่มแผ่ขยายการค้ามาทางเอเชีย และประเทศอเมริกาได้ส่งนายพลแมทธิว ซี เพอร์รี ( Matthew C. Perry ) พร้อมเรือรบ 4 ลำ มาบีบบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศ ในเวลานั้นซามูไรหลายพันคนได้พร้อมใจกันต่อสู้ แต่ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้เพราะอเมริกาใช้ปืนต่อสู้ที่ทรงอานุภาพสูงเข้ามาด้วย ญี่ปุ่นจึงยอมเปิดประเทศและทำสนธิสัญญากับอเมริกาและประเทศแถบยุโรป ในสมัยแรกๆ ของการเปิดประเทศซามูไรยังคงมีสิทธิ์พกดาบเป็นอาวุธคู่กาย ต่อมาใน ค.ศ. 1876 สมัยเมจิ รัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามพกดาบ ซามูไรจึงลดบทบาทลง และดาบจึงมิได้ถูกนำมาใช้ในการสู้รบอีกเลย แต่กลับกลายเป็นสมบัติอันล้ำค่าทั้งด้านความงามและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งหาได้ยากอย่างยิ่ง[2]

อ้างอิง

  1. คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์, จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจรายวัน ระหว่าง พ.ศ. 2468 –2471, (กรุงเทพฯ : วัชรินทร์การพิมพ์, 2537).
  2. วิสันธนี โพธิสุนทร และประพิศ พงศ์มาศ, เรื่องเดียวกัน, หน้า 168-169.

ซามูไร


ภายใต้ความประณีตผสมผสานเนื้อเหล็กชั้นดีและวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของชาวญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณราวหนึ่งพันปีเศษ ทำให้ดาบญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดเหนือกว่าดาบของชนชาติอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง – ราวพันปีก่อนช่างตีดาบเขาผลิตดาบเนื้อดีแข็งแกร่งและคมอย่างมีดโกนได้อย่างไร ภายใต้อาวุธสังหารอันคมกริบ ดาบซามูไรก็เป็นงานศิลปะชั้นยอด เป็นของที่มีค่าและวิธีการตีดาบซามูไรยังเป็นศาสตร์ที่สูงส่งอย่างไม่น่าเชื่อ

คนไทยเริ่มรู้จักดาบซามูไรเมื่อติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยอยุธยา สงครามโลกครั้งที่สอง …ดาบซามูไรเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทหารญี่ปุ่นใช้ตัดหัวเชลยศึกให้ขาดได้ด้วยการฟันเพียงครั้งเดียวและทำให้ดาบซามูไรเริ่มรู้จักกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา และแทบไม่น่าเชื่อว่า …ยุคทองของดาบซามูไรนั้นมีมานานกว่า 700 ปี ถือเป็นยุคที่ดาบมีคุณภาพดีที่สุดเหนือกว่ายุคใดๆ ของดาบญี่ปุ่น

ซามูไร (Samurai) คือนักรบหรือมีความหมายว่าผู้รับใช้ ดาบคู่กายซามูไรเปรียบเหมือนจิตวิญญาณของซามูไรทุกคน หากซามูไรลืมดาบเท่ากับว่านำตนเองไปสู่ความตายได้ทุกเมื่อ ลัทธิ "บูชิโด" สอนให้เหล่าซามูไรยึดมั่นในความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่และจงรักภักดีต่อเจ้านายของตน ซามูไรถือว่าความตายเป็นเรื่องเล็กน้อย ปรัชญาแห่งบูชิโดกล่าวไว้ว่า "ความตายเป็นสิ่งเบาบางยิ่งกว่าขนนก"

ชาวญี่ปุ่นโบราณยกย่องชาวนาและช่างฝีมือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ "ช่างตีดาบ" เดิมนักรบชาวญี่ปุ่นใช้ดาบจากจีนและเกาหลีในการสู้รบ ในสมัย "นาร่า" (Nara Period) ประมาณปี พ.ศ. 1193-1336 หรือประมาณ 1,300 ปีเศษล่วงมาแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือเวลาสู้รบดาบมักหักออกเป็นสองท่อน จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบปรับปรุงดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ช่างตีดาบยุคแรกมีชื่อว่า "อามากุนิ" เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดีและมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิม เหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า "ทามาฮากาเน่" (Tamahagane) อามากุนิพบว่า การที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็น การควบคุมปริมาณคาร์บอนและการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออก

ปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบ หากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะ ใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้องใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ – เหล็กจะถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอมและนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆ แล้วตีซ้ำอีกครั้ง ครั้งแล้วครั้งเล่า เหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมื่นๆ ชั้น ทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็ก แล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบ จะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป …แต่นี่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นดาบที่สุดยอด

สี่ร้อยปีผ่านมาเข้าสู่สมัยคามาคูระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. 1735-1879 จักรพรรดิบอกให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ ยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิมเมื่อกว่า 400 ปีก่อน ถือเป็นเทคนิคที่สุดยอดของดาบ มีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบและเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น จากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปและนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อทำเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันใหแผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า 700 องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดีดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ

ดาบสามารถฟันคอขาดได้เพียงครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมาก ซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตนกว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว

แต่ประเพณีการต่อสู้ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ "เซปปุกุ" คือเกียรติยศของซามูไร

เดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1817 ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮากาตะ ด้วยกองทัพเรือ ๘๐๐ ลำ และกองพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู

อีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ 4,000 ลำ กองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า "กามิกาเซ่" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์หรือลมผู้หยั่งรู้ หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย

หลังจากสงครามสิ้นสุด บ้านเมืองอยู่ในความสงบ พบว่าหลังจากการรบที่ผ่านมาดาบมักจะบิ่น จักรพรรดิจึงบอกให้ช่างตีดาบหาวิธีแก้ไข ช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้น คือ "มาซามูเน่" (Masamune) ราวปี พ.ศ. 1840 ดาบของมาซามูเน่ถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุดในญี่ปุ่น ไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้ เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบ

เคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็กสามชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า Gawa-gane และด้านคมดาบ (Ha-gane) ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง 15 ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง 32,768 ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Shi-gane แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบ ซึ่งช่างตีดาบคนอื่นๆ เริ่มเลียนแบบในเวลาต่อๆ มา

ช่างตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมาซามูเน่ คือ "มูรามาซะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มูรามาซะ" ไว้ครอบครอง เลือดจะสูบฉีดให้อยากที่จะชักดาบออกมาสังหารคู่ต่อสู้เพราะความคมของมัน ในขณะเดียวกันซามูไรที่ครอบครองดาบของ "มาซามูเน่" กลับสงบนิ่งเยือกเย็น
ดาบมาซามุเนะ: อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติญี่ปุ่น


เคยมีคนเข้าใจว่า ดาบมาซามุเนะนั้นเป็นของ มาซามุเนะ ดาเตะ แต่จริงๆ แล้วเป็นชื่อของนักตีดาบสมัยคามาคูระ เป็นนักตีดาบมีชื่อเสียงชื่อ นิวโด โกโร่ มาซามุเนะ – การตีดาบด้วยวิถีแห่งโซชูที่บัญญัติขึ้นเอง ตีด้วยเหล็ก 3 เนื้อ แต่ปัจจุบันมีมาซามุเนะรุ่นใหม่ๆ ที่เลียนแบบวิธีการตีดาบแบบดั้งเดิมอยู่มากมาย แต่มีของจริงที่ตีโดย นิวโด อยู่ไม่มาก

ส่วนราคาของ รุ่นใหม่ก็อยู่ในหลักหมื่นถึงแสน ส่วนของรุ่นเก่าก็ …ว่ากันว่าสมัยก่อนพวกไดเมียวหรือโชกุนซื้อดาบนี้ด้วยปราสาท
ดาบมุรามาสะ


ดาบญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2146-2410) จากการติดต่อค้าขาย ญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยา โดยเฉพาะดาบมีความสำคัญต่อพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางในราชสำนักสยามแต่งตัวในชุดเต็มยศ ห้อยดาบเข้าพิธีสำคัญๆ ต่างๆ ในพระราชสำนัก อีกทั้งหนึ่งในห้าของ "เบญจราชกกุธภัณฑ์" คือ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ดาบหรือกระบี่ของตำรวจและทหารในชุดเต็มยศของไทยในปัจจุบัน เรียกว่าดาบทหารม้า (Parade Saber) ซึ่งได้รับอิทธิพลพื้นฐานมาจากดาบญี่ปุ่นทั้งสิ้น

ในสมัยอยุธยา ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากสยาม เช่น ไม้กฤษณา ไม้ฝาง น้ำกุหลาบ พริกไทย เป็นต้น มีการตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา เมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์โดยลี้ภัยทางศาสนาและส่วนหนึ่งเป็นพวกซามูไรแตกทัพที่สูญเสียเจ้านายหรือที่เรียกว่า "โรนิน" (Ronin) แตกทัพจากสงครามเซกิงาฮาร่า ได้โดยสารเรือสำเภาที่กำลังจะเดินทางมาค้าขายยังชมพูทวีปและมาตั้งรกรากในประเทศสยาม สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วยก็คือดาบญี่ปุ่น ซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "Gunto" เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2411 และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งถือว่าเป็นยุค Modern เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีตและไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร

ส่วนพิธีกรรมโบราณนั้นมีขั้นตอนมากมายและถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่างตีดาบต้องถือศีลกินเจในขณะที่หลอมเหล็ก ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เพื่อผลิตดาบให้เป็นมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของดาบเล่มนั้นๆ ดาบคล้ายกับเครื่องลางของขลังหรืออย่างพระเครื่องของคนไทยที่ปลุกเสกจากเกจิอาจารย์ดัง ช่างตีดาบและลูกมือจะร่วมมือกันทำดาบเพียงหนึ่งเล่มในระยะเวลามากกว่าเดือน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่างตีดาบที่ดีจะทำดาบที่ดีออกมา หากช่างตีดาบมีจิตใจไม่ดีดาบที่ตีออกมาก็จะไม่ดีไปด้วย ดาบแต่ละเล่มจึงมีราคาไม่เท่ากัน กล่าวกันว่าบางเล่มราคามากกว่าที่ดินหนึ่งผืน หรือดาบที่ดีเพียงเล่มเดียวอาจจะมีราคาสูงกว่าหอกสามร้อยเล่ม ในสมัยโบราณดาบจึงไม่ใช่อาวุธที่สามารถจะซื้อมาใช้ในกองทัพได้ นอกจากเป็นสมบัติส่วนตัวของเหล่าซามูไรเท่านั้น

ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

"ซาดาเอจิ กัสสัน" (Sadaeji Gassan) ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง เราอาจจะเคยเห็นท่านถือดาบไว้ในมือกับโฆษณานาฬิกาโรเล็กซ์เมื่อหลายปีก่อน กัสสันเป็นตระกุลช่างตีดาบที่ตกทอดมากว่า 700 ปี ปัจจุบันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการตีดาบอย่างประณีตตามขั้นตอนและวิธีการแต่โบราณจากยุคทอง สมัยคามาคูระ โดยเป็นมรดกตกทอดมาถึง "ซาดาโตชิ กัสสัน" (Sadatoshi Gassan) ดาบซามูไรยังคงความประณีตงดงามถือเป็นงานศิลปะขั้นสูงสุดตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันยังมีช่างตีดาบอีกจำนวนมากที่ตีดาบตามแนวทางดั้งเดิม

ยุคสมัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ 4 ยุค

1. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช 900 (ก่อน พ.ศ. 1443) ยุคที่ดาบของ "อามากุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนาร่า

2. ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. 1443-2073 ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร แทบไม่น่าเชื่อเมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-18) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 18-20) ในขณะที่ปี พ.ศ. 1840 เป็นปีที่ดาบของ "มาซามูเน่" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด

3. ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. 2139-2410 ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะและยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. 2182)

4. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. 2411 ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. 2411-2488) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 การตัดคอเชลยศึกไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง

ชนิดของดาบซามูไร ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท แต่สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ดังนี้

ดาบยาว (Long Sword)
1. "ตาชิ" (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า 70 เซนติเมตร
2. "คาตานะ" (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาชิ (ราว พ.ศ. 2000) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ 60.6 เซนติเมตรขึ้นไปถึง 70 เซนติเมตร

ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)
"วากิซาชิ" (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ 12 นิ้วถึง 24 นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็นและเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่มและโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น

ดาบขนาดสั้น (Short Sword)
1. "ตันโตะ" (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ
2. "ไอกุชิ" (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี

ความงามของดาบซามูไร

ตลอดทั้งตัวดาบหากสังเกตจะเห็นว่าดาบนั้นมีความงดงามมาก งามตามธรรมชาติทั้งๆ ที่ไม่มีเครื่องประดับใดๆ จุดเด่นคงอยู่ที่ลักษณะใบดาบที่โค้งได้รูป ถือเป็นการออกแบบที่สุดยอด ลวดลายน้ำบนใบดาบเรียกว่า "ฮามอน" ถูกประดิษฐ์ขึ้นมากว่าพันปีโดย "อามากุนิ" ไม่เป็นเพียงลวดลายที่งดงามอย่างเดียว แต่เป็นความลับของคมดาบด้วย

ในส่วนของที่กั้นมือเรียกว่า "Tsuba" (Handguard) มักทำจากเหล็ก ทองเหลือง ทองแดงหรือเงิน เป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม มีการทำลวดลายต่อเนื่องทั้งสองด้านมาตั้งแต่โบราณ มีมากมายหลายแบบจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว (ยกเว้นของดาบทหารที่มีลวดลายเดียวเฉพาะเท่านั้น) ส่วนด้ามจับที่ทำด้วยไม้ หุ้มทับด้วยหนังปลากระเบนและผ้าไหม พับเว้นช่องเป็นรูปข้าวหลามตัด คือเอกลักษณ์ของดาบที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

รู้สึกจะเรียกว่า ร่องเลือด ครับ …เพราะสมัยก่อนเวลาต่อสู้จะมีเลือดมาเกาะอยู่มากทำให้ดาบลดความคมลงไป จึงคิดทำร่องนี้ขึ้นมาเพื่อจะให้เลือดไหลไปรวมกันแล้วสลัดออกได้ง่าย

มีการพันด้ามดาบเป็นเอกลักษณ์

เรื่องราวของดาบยังมีอีกมากมาย ล้วนแต่เป็นรายละเอียดที่ไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเป็นลายของเนื้อเหล็กที่เกิดจากการตีเหล็กและหลอม ชนิดของลวดลายฮามอนบนใบดาบหรือดาบกับการทำ "เซปปุกุ" หรือการคว้านท้อง เป็นต้น
 
ปัจจุบันดาบญี่ปุ่นกลายเป็นงานศิลปะที่มีราคาสูงมาก ดาบที่ขายเป็นของที่ระลึกนั้นจะไม่คมและทำด้วยสเตนเลส เป็นของประดับบ้าน ดาบยังมีการผลิตในต่างประเทศด้วย เช่น ประเทศสเปนและไต้หวัน ส่วนดาบที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นตามขั้นตอนแบบพิธีโบราณนั้น ก็ยังมีอยู่มากมาย ยังคงเป็นดาบแท้ตีใบดาบด้วยเหล็ก หลายๆ ตระกุลอย่าง "ตระกุลกัสสัน" ยังใช้เหล็กเนื้อดีมีความคมกริบเหมือนเกือบพันปีที่ผ่านมา ดาบถูกตกแต่งหลายๆ แบบมากมายด้วยเงิน ทอง การประดับประดาและการแกะลวดลายลงบนใบดาบ รัฐบาลญี่ปุ่นดูแลการผลิตดาบอย่างเข้มงวดเพื่อให้ทรงคุณค่าต่อไปอย่างมีเอกลักษณ์ แม้ปัจจุบันดาบจะไม่ได้เป็นจิตวิญญาณของซามูไรอย่างแต่ก่อน แต่ก็คงเป็นตำนานแห่งอาวุธสังหาร และงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดสืบไป

อ้าวอิงจาก http://lonesomebabe.wordpress.com/

มีดหมอ

มีดหมอ "ดีทางป้องกันภูตผีปีศาจ ขับไล่วิญญาณ"
         อาวุธในทางไสยศาสตร์ที่เป็นของติดตัวบรรดาท่านเกจิอาจารย์ อีกอย่างหนึ่งคือ มีดหมอ ซึ่งทำสำเร็จด้วยวัสดุประจุอาคมของขลัง เนื้อโลหะที่นำมาใช้ทำมีดหมอนั้น ต้องนำมาจากที่พิเศษอันเป็นสถานที่ ๆ ต้องบุกบั่นไปเอามาด้วยความยากลำบากฝ่าฟันอันตราย มีดหมอนี้ใช้สำหรับปราบภูตผีปีศาจที่มารบกวนมนุษย์ ถือโอกาสสิงสู่ในร่างของคนอ่อนแอ คนมีอายุ หญิงสาว ในการทำพิธีขับไล่วิญญาณร้ายเหล่านี้จะใช้อาคมเสกเป่า ก่อนเมื่อไม่ได้ผลคือวิญญาณนั้นไม่ยอมออกจากร่างและสำแดงฤทธิ์ต่อไป อาจารย์ท่านก็จะใช้มีดหมอเป็นอาวุธ ขั้นสุดท้าย ซึ่งมักจะได้ผลเสมอแทบทุกรายอย่างในเรื่อง ขุนช้าง ขุนแผน ได้กล่าวถึง ตำรา การทำมีดหมอ ไว้อย่างละเอียด คัดตอนขุนแผนประกอบพิธีสร้างมีดหมอ ดังต่อไปนี้
ครานั้นขุนแผนแสนสนิท                      เรืองฤทธิ์รังสีไม่มีสอง
ได้ลูกชายเชี่ยวชาญกุมารทอง               ก็สมปองคิดไว้แต่ไรมา
จะจัดแจงตีดาบไว้ปราบศึก                   ตรองตรึกหาเหล็กไว้หนักหนา
ได้เสร็จสมอารมณ์ตามตำรา                  ท่านวางไว้ในมหาศาสตราคม
เอาเหล็กยอดเจดีย์มหาธาตุ                  ยอดปราสาททวารามาประสม
เหล็กขนันผีพลายตายทั้งกลม               เหล็กตรึงโลงตรึงปั้นลมสลักเพชร
หอกสัมฤทธิกริชทองแดงพระแสงหัก      เหล็กปฏักสลักประตูตะปูเห็ด
พร้อมเหล็กเบญจพรรณกลเม็ด              เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแท้
เอาเหล็กไหลเหล็กหล่อบ่อพระแสง        เหล็กกำแพงน้ำพี้ทั้งเหล็กแร่
ทองคำสัมฤทธิ์นาคอแจ                       เงินที่แท้ชาติเหล็กทองแดงดง
เอามาสุมคุมคอยเข้าเป็นแท่ง                เผาให้แดงตีแผ่แช่ยาผง
ไว้สามวันซัดเหล็กนั้นเล็กลง                 ยังคงแต่พอลามตามตำรา
ซัดเหล็กครบเสร็จถึงเจ็ดครั้ง                 พอกระทั่งฤกษ์เข้าเสาร์สิบห้า
ก็ตัดไม้ปลูกศาลขึ้นเพียงตา                  แล้วจัดหาสารพัดเครื่องบัตรพลี
เทียนทองติดตั้งเข้าทั้งคู่                      ศีรษะหมูเป็ดไก่ทั้งบายศรี
เอาสูบทั้งตั้งไว้ในพิธี                           เอาถ่านที่ต้องอย่างวางในนั้น
ช่างเหล็กดีฝีมือลือทั้งกรุง                     ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวห่มดูคมสัน
วางสายสิญจน์เสกลงเลขยันต์               คนสำคัญคอยดูที่ฤกษ์ราชสีห์
ขุนแผนสูบเหล็กให้แดงดี                     นายช่างตีรีดรูปให้เรียวปลาย
ที่ตรงกลางกว้างงามสามนิ้วกึ่ง                ยาวถึงศอกกำมาหน้าลูกไก่
เผาซุบสานแดงแทงตะไบ                     บัดเดี๋ยวใจเกลี้ยงพลันเป็นมันยับ
งามดีมิได้มีขนแมวพาด                        เลื่อมปราดเนื้อเขียวดูคมหนับ
เลื่อมพรายคล้ายแสงแมลงทับ               เปล่งปลาบวาบวับคล้ายแสงตะวัน
ด้ามนั้นทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์                  จารึกยันต์พุทธจักรที่เหล็กกั่น
เอาผมพรายร้ายดุประจุพลัน                  แล้วเอาชันกรอกด้ามเสียบัดดล
ครั้นเสร็จสรรพจับแกว่งแสงวะวับ            เกิดโกลาฟ้าพยับโพยมหน
เสียงอื้ออึงเอิกเกริกได้ฤกษ์บน               ฟ้าคำรณฝนพยับอยู่ครั่นครื้น
ฟ้าผ่าเปรี้ยงเปรี้ยงเสียงโด่งดัง               ขุนแผนจิตฟูให้ชูชื่น
ได้นิมิตฟ้าเปรี้ยงดังเสียงปืน                  ให้ชื่อว่าฟ้าฟื้นอันเกรียงไกร
ยกขึ้นวางกลางศาลอ่านพระเวท             โดยเดชดาบดิ้นกระเดื่องไหว
เห็นประจักษ์ศักดิ์สิทธิ์ฤทธิไกร              ดีใจได้สมอารมณ์ปอง
เอาไม้ระงับสรรพยามาทำฝัก                 ประสมผงลงรักให้ผิวผ่อง
กาบหุ้มต้นปลายลายจำลอง                  ทำด้วยทองถ้วนบาทชาติบางตะพาน
         การสร้างมีดหมอในยุค ต่อๆมา วัสดุในการสร้าง เช่น โลหะ จากสถานที่ดังกล่าวในเรื่องข้างต้นแล้วหาได้ยาก  พระเกจิอาจารย์จึงได้ใช้เหล็กธรรมดาผสมกับตะปูตอกโลงผีตายโหงบ้าง ตะปูสังขวานร (ตะปูโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา) บ้าง หล่อหลอมและตีเป็นใบมีด ส่วนด้ามมีดนั้น จะนิยมนำงาช้างมาแกะเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปท้าวเวสสุวัณ ฤาษี หรือรูปในวรรณคดีต่าง ๆ

         มีดหมอในรุ่นหลังๆ ต่อมานี้ นิยมเอากัลปังหา เอามาทำด้ามมีด เพราะถือว่า "กัล" ซึ่งหมายถึงการออกเสียงว่า "กัน" เป็นนิมิตโฉลกดี คือป้องกันนั่นเอง แม้แต่กัลปังหาขนาดใหญ่ที่จะนำมาทำด้ามมีดหมอ เพื่อความคงขลังในปัจจุบันก็หาได้ยากยิ่ง
         ตำราการสร้างมีดหมอมีอีกหลายอาจารย์ แต่ตำรับเดิมนั้นน่าจะเป็นของในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งในยุคนั้น ระยะแรก ๆ บรรพบุรุษของไทยเราต้องรบกับข้าศึกอยู่เสมอมิได้ขาดมีดหมอ จึงมีความสำคัญคู่กับประวัติศาสตร์ไทยอีกชั้นหนึ่ง

อ้างอิงจาก  http://www.itti-patihan.com/

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คาตะนะ

คะตะนะ (ญี่ปุ่น: 刀 หรือ かたな Katana ?) เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลเป็นภาษาไทยโดยความหมายว่าดาบ หรือที่เรียกว่า ดาบซามูไร มีลักษณะเป็นดาบคมด้านเดียว เอาไว้เพื่อฟันหรือเพื่อตัด เป็นดาบมีลักษณะพิเศษคือ ไม่หัก ไม่งอ และคม และเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีคุณค่า มีวิธีการผลิตเฉพาะในญี่ปุ่นคือ เอาโลหะมาเผาและตีแผ่ครั้งแล้วครั้งเล่า จนได้ดาบที่มีความแข็งแรง คม ใช้เป็นอาวุธประจำกายของเหล่านักรบซามูไร ผู้ปกป้องอารักขาคุ้มครองเหล่าขุนนางแห่งญี่ปุ่น โดยปกติจะพกติดตัวตลอดเวลาจำนวน 2 เล่มคือ ดาบยาว หรือ คะตะนะ และดาบสั้น หรือ วาคิซาชิ
เนื้อหา

 ความสำคัญของดาบซามูไร

ในสมัยเอโดะ ดาบเป็นสัญลักษณ์ของลัทธิ บุชิโด (วิถีทางของนักรบ) ซึ่งเป็นจริยธรรมของนักรบที่ต้องยึดถือปฏิบัติ และเป็นสิทธิพิเศษเฉพาะนักรบเท่านั้นที่อนุญาตให้พกดาบได้ ซึ่งในขณะนั้นมีประมาณร้อยละสิบของประชากรทั้งหมด และเหล่านักรบนั้นจึงถือว่าดาบเป็นสิงศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่แสดงเกียรติยศ ชื่อเสียงและความภาคภูมิใจของตระกูล และดาบเหล่านั้นจะสืบทอดเป็นมรดกต่อๆกันไปหลายชั่วอายุคน และใช้ดาบนี้ในการ การคว้านท้อง หรือ ฮาราคีรี ซึ่งถือกันว่าเป็นการตายอย่างไร้เกียรติของนักรบเหล่านี้ ดาบซามูไรนี้ได้ถูกใช้เป็นอาวุธจนกระทั่งมีการนำปืนเข้ามาใช้ และกลายเป็นอาวุธหลักแทน

 ประวัติการสร้างดาบซามูไร

 สมัยนารา

เดิมนักรบชาวญี่ปุ่นใช้ดาบจากจีนและเกาหลีในการสู้รบ ในสมัยนารา (Nara Period) ประมาณปี พ.ศ. 1193-1336 หรือประมาณ 1,300 ปีเศษที่แล้ว ปัญหาที่พบคือเวลาสู้รบดาบมักหักออกเป็นสองท่อน จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบปรับปรุงดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม ช่างตีดาบยุคแรกมีชื่อว่า "อามากุนิ" เขาพัฒนาการตีดาบไม่ให้หักง่ายด้วยการใช้เหล็กที่ดี และมีการศึกษาวิธีทำให้เหล็กแข็งแกร่งกว่าเดิม เหล็กที่ดีของญี่ปุ่นได้จากการถลุง มีชื่อว่า "ทามาฮากาเนะ" (Tamahagane) อามากุนิพบว่าการที่จะให้ได้ดาบคุณภาพดีต้องควบคุมของสามสิ่ง คือ การควบคุมความเย็น, การควบคุมปริมาณคาร์บอน และการนำสิ่งปะปนที่อยู่ในเหล็กออก ปริมาณคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการตีดาบ หากใส่คาร์บอนในเหล็กมากไปเหล็กจะเปราะ, ใส่น้อยไปเหล็กจะอ่อน จึงต้อใส่ในปริมาณที่พอเหมาะ เหล็กถูกนำมาหักแบ่งเป็นชิ้นเล็กวางซ้อนกันก่อนหลอม และนำไปตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นจึงพับเหล็กเป็นสองชั้นขณะยังร้อนๆ แล้วตีซ้ำอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เหล็กจะซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมื่นๆ ชั้น ทำให้คาร์บอนกระจายไปจนทั่วเนื้อเหล็ก แล้วจึงนำไปตีแผ่ออกให้เป็นใบดาบ จะได้ใบดาบที่ดีเนื้อเหล็กแกร่งและคมไม่หักอีกต่อไป

 สมัยคามาคุระ

ในสมัยคามาคุระ (Kamakura Period) ราวปี พ.ศ. 1735-1879 จักรพรรดิสั่งให้ช่างตีดาบศึกษาวิธีการตีเหล็กจากยุคโบราณ ยุคนี้ถือเป็นจุดเริ่มยุคทองของดาบซามูไร มีการพัฒนาดาบให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยมีการเพิ่มวิธีการผสมเหล็กสองชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีความแข็งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงใช้ทำเป็นตัวดาบ และเหล็กอ่อนที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำใช้ทำเป็นไส้ดาบเพื่อให้ยืดหยุ่น จากเหล็กสองชนิดที่ถูกนำมาพับและตีมากกว่าสิบชั้น ทำให้เกิดชั้นเล็กๆ เป็นทวีคูณเป็นหมื่นชั้น ช่างตีดาบจะพับเหล็กแข็งให้เป็นรูปตัว "ย" และนำเหล็กอ่อนมาวางไว้ตรงกลางเพื่อเป็นไส้ใน แล้วนำไปหลอมและตีรวมกันให้แผ่ออกเป็นใบดาบ จากนั้นนำไปหลอมในอุณหภูมิที่เหมาะสมซึ่งมากกว่า 700 องศาเซลเซียส แล้วจึงนำมาแช่น้ำเย็น การแช่น้ำต้องระมัดระวังมาก หากแช่ไม่ดี ดาบจะโค้งเสียรูป เหล็กที่มีความแข็งต่างกันเมื่อทำให้เย็นทันทีจะหดตัวต่างกัน ถือเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ใบดาบโค้งได้รูปตามธรรมชาติ ดาบสามารถฟันคอขาดได้ในครั้งเดียว บาดแผลที่ได้รับจากดาบจะเจ็บปวดมาก ซามูไรยังต้องเรียนรู้การใช้ดาบอย่างช่ำชองว่องไวและคล่องแคล่ว ให้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จากความสามารถนี้เองทำให้ซามูไรเพียงคนเดียวสามารถสังหารศัตรูที่รายล้อมตนกว่าสิบคนได้ภายในชั่วพริบตาด้วยดาบเพียงเล่มเดียว แต่ประเพณีการต่อสู้ของชนชั้นซามูไรคือการต่อสู้ "ตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทด้วยดาบ" ผู้แพ้ที่ยังมีชีวิตอยู่คือผู้ที่ไร้เกียรติ ซามูไรจึงไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ การฆ่าตัวตายอย่างสมเกียรติด้วยการทำ "เซปปุกุ" คือเกียรติยศของซามูไร
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 1817 ชาวมองโกลของกุบไลข่านบุกญี่ปุ่นที่อ่าวฮากาตะ ด้วยกองทัพเรือ 800 ลำ และกองพลสามหมื่นนาย เหล่าซามูไรต้องการจะสู้กันตัวต่อตัวอย่างมีมารยาทเยี่ยงสุภาพบุรุษกับนักรบระดับผู้นำ แต่ไม่ได้ผล พวกซามูไรต้องปะทะสู้ที่ชายหาดกับฝูงธนูอาบยาพิษและระเบิด เป็นสงครามที่ไม่มีระเบียบและตกเป็นรอง พายุไต้ฝุ่นช่วยทำลายกองเรือของชาวมองโกลจนหมดสิ้น การรบครั้งแรกเหมือนการหยั่งเชิงของชาวมองโกลเพื่อดูกำลังของศัตรู อีกเจ็ดปีต่อมาพวกมองโกลกลับมาอีกครั้งด้วยกองเรือ 4,000 ลำ พร้อมกองทหารอีกสองแสน พวกซามูไรรบพุ่งกับลูกธนูอย่างกล้าหาญ พวกเขาตัดเรื่องมารยาททิ้งไป ตกกลางคืนเหล่าซามูไรพายเรือลอบเข้าโจมตีพวกมองโกลประชิดตัวด้วยการใช้ดาบที่ช่ำชอง ดาบทหารมองโกลไม่มีทางสู้ดาบซามูไรได้เลย ระหว่างสงครามพายุไต้ฝุ่นก็ทำลายกองเรือของมองโกลอีกครั้ง กองเรือสองในสามจมไปกับทะเลพายุ, ทหารมองโกลจมน้ำตายนับหมื่น พวกที่ว่ายน้ำเข้าฝั่งก็ตายด้วยคมดาบอย่างหมดทางสู้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเมืองนี้ถูกปกป้องจากพระเจ้า และตั้งชื่อลมพายุนี้ว่า "กามิกาเซ่" (Kami-Kaze) หมายถึงลมศักดิ์สิทธิ์ หรือลมผู้หยั่งรู้ หลังจากนั้นพวกมองโกลก็ไม่ได้กลับมาตีญี่ปุ่นอีกเลย
หลังจากสงครามสิ้นสุด บ้านเมืองอยู่ในความสงบ พบว่าหลังจากการรบที่ผ่านมาดาบมักจะบิ่น จักรพรรดิจึงสั่งให้ช่างตีดาบหาวิธีแก้ไข ช่างตีดาบที่สร้างสมดุลของความแข็งและความอ่อนของเหล็กและพัฒนาโครงสร้างของดาบออกเป็นเหล็กสามชิ้น คือ "มาซามุเนะ" ราวปี พ.ศ. 1840 ดาบของมาซามุเนะถือเป็นดาบที่พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ในญี่ปุ่นไม่มีช่างตีดาบคนใดจะเทียบได้ เขาสร้างความสมดุลของความแข็งของคมดาบ เคล็ดลับการทำดาบคือการผสมเหล็กสามชนิดเข้าด้วยกัน เหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนสูงจะใช้เป็นใบดาบด้านข้างที่เรียกว่า Gawa-gane และด้านคมดาบ (Ha-gane) ใช้เหล็กที่แข็งมากโดยผ่านการพับและตีถึง 15 ครั้ง ซึ่งสามารถสร้างชั้นของเหล็กที่ซ้อนกันถึง 32,768 ชั้น ทำให้เหล็กเหนียวและแกร่งมากกว่าส่วนอื่นๆ ส่วนเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำจะใช้เป็นส่วนไส้ใน (Core Steel) ทำให้มีความยืดหยุ่นเรียกว่า Shi-gane แล้วนำไปหลอมที่อุณหภูมิประมาณ 800 องศาเซลเซียสให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาตีแผ่ออกเป็นใบดาบ ช่างตีดาบคนอื่นๆ เริ่มเลียนแบบในเวลาต่อๆ มา
ช่างตีดาบในยุคเดียวกันที่มีชื่อเสียงเทียบเคียงมาซามุเนะ คือ "มุรามาสะ" กล่าวกันว่าใครที่มีดาบของ "มุรามาสะ" ไว้ครอบครอง เลือดจะสูบฉีดให้อยากที่จะชักดาบออกมาสังหารคู่ต่อสู้เพราะความคมของมัน ในขณะเดียวกันซามูไรที่ครอบครองดาบของ "มาซามุเนะ" กลับสงบนิ่งเยือกเย็น

 ยุคสมัยของดาบซามูไร

ยุคสมัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ 4 ยุค
  1. ยุคดาบโบราณ (Ancient Sword) ก่อนคริสต์ศักราช 900 (ก่อน พ.ศ. 1443) ยุคที่ดาบของ "อามากุนิ" ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับการถลุงเหล็กเนื้อดีในสมัยนารา
  2. ยุคดาบเก่า (Old Sword) ราวปี พ.ศ. 1443-2073 ถือเป็นยุคทองของดาบซามูไร เทียบกับประวัติศาสตร์ไทย จะอยู่ในช่วงเดียวกับศิลปะสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-18) จนถึงสมัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 18-20) ในปี พ.ศ. 1840 เป็นปีที่ดาบของ "มาซามุเนะ" ถือกำเนิดขึ้นและภูมิปัญญาขั้นสูงสุดที่ตกทอดเป็นมรดกของดาบชั้นยอด
  3. ยุคดาบใหม่ (New Sword) ราวปี พ.ศ. 2197-2410 ซึ่งอยู่ช่วงเดียวกับศิลปะสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ คือช่วงสมัยเอโดะ และยุคที่ญี่ปุ่นปิดประเทศห้ามคนเข้าออกอย่างเด็ดขาด (พ.ศ. 2182)
  4. ยุคดาบสมัยโมเดิร์น (Modern Sword) ราวปี พ.ศ. 2411 ถึงปัจจุบัน ยุคที่ดาบทหารถือกำเนิดขึ้น (พ.ศ. 2411-2488) การผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อการสงครามไม่มีพิธีกรรมแบบโบราณ ดาบญี่ปุ่นมัวหมองเพราะถูกใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการตัดคอเชลยศึกซึ่งไม่ใช่ประเพณีของชนชั้นซามูไร พอมาถึงสมัยปัจจุบันดาบกลายเป็นงานศิลปะชั้นสูงที่มีราคาแพง

 ชนิดของดาบซามูไร

ชนิดของดาบซามูไร

 แบ่งโดยยุคสมัย

ดาบซามูไรแบ่งตามยุคสมัย มี 4ชนิดคือ
  1. Koto
  2. Shinto
  3. Shinshinto
  4. Gendaito

 แบ่งตามความยาว

  1. Ootachi ยาวมากกว่า 3 ซากุ (Shaku)
  2. Tachi ยาวตั้งแต่ 2-3 ซากุ
  3. Kodachi ยาวไม่ถึง 2 ซากุ
  4. Wakizashi ยาวตั้งแต่ 1-1.7 ซากุ
หมายเหตุ 1 ซากุ (Shaku) = 0.303 เมตร
ดาบมีหลายแบบและหลายประเภท สามารถแบ่งชนิดหลักๆ ออกได้ 3 ชนิดดังนี้

 ดาบยาว (Long Sword)

  1. ตาชิ (Tachi) ดาบยาวของทหารม้า มีความโค้งของใบดาบมาก ใช้ฟันจากหลังม้า มีความยาวของใบดาบมากกว่า 70 เซนติเมตร มักไม่คำนึงถึงความคล่องตัว แต่คำนึงถึงระยะโจมตีมากกว่า
  2. คาตานะ (Katana) ดาบที่มาแทนที่ดาบตาชิของทหารม้า ตั้งแต่กลางสมัยมุโรมาจิ (ราว พ.ศ. 2000) สามารถใช้ต่อสู้บนพื้นดินได้คล่องตัวกว่า เพราะมีความโค้งน้อยควบคุมได้ง่าย ความยาวใบดาบโดยประมาณ 60.6 เซนติเมตรขึ้นไปถึง 70 เซนติเมตร

 ดาบขนาดกลาง (Medium Sword)

วากิซาชิ (Wakizashi) ดาบที่ใช้พกพาคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ใบดาบมีความยาวตั้งแต่ 12 นิ้วถึง 24 นิ้ว ดาบที่ซามูไรใช้สำหรับทำ "เซปปุกุ" เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้ ตามปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และโดยธรรมเนียมห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้นตันโตะ (Tanto) มีลักษณะคล้ายมีดสั้น ความยาวน้อยกว่าดาบวากิซาชิ
ดาบขนาดสั้น (Short Sword
1.ไอกุชิ (Aikuchi) คล้ายมีดไม่มีที่กั้นมือ ใช้สำหรับพกในเสื้อ เหมาะกับสตรี
ดาบซามูไรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ดาบทหารในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชื่อเรียกว่า "กุนโตะ" เป็นดาบที่ถูกผลิตขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2411 และสิ้นสุดการผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งถือว่าเป็นยุคใหม่ เป็นดาบที่ทำเพื่อการสงคราม ผลิตจำนวนมาก ยังคงความคมกริบ แต่ไม่ประณีต และไม่มีขั้นตอนการทำอย่างประเพณีโบราณ ดาบรุ่นนี้ตกค้างอยู่ในแถบอินโดจีนจำนวนมากหลังจากสงครามสิ้นสุด ซึ่งอาจจะพบได้ในประเทศพม่าและประเทศไทย ถูกฝังดินอยู่กลางป่าหรือในถ้ำตามเส้นทางเดินทัพของทหารญี่ปุ่น ดาบยุคสงครามจะเป็นดาบที่ใช้ฝักทำด้วยเหล็ก มีห่วงทองเหลืองหรือทองแดงเรียกว่า "โอบิ-โทริ" ใช้สำหรับห้อยกับเข็มขัด ตัวดาบและฝักเหล็กมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้เหน็บเอวอย่างดาบฝักไม้แบบโบราณ ซึ่งมีห่วงผูกเงื่อนที่ทำจากผ้าไหมใช้เหน็บเอวของซามูไร ดาบทหารที่ไม่มีขั้นตอนการผลิตในแบบพิธีกรรมโบราณ จึงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อย่างดาบของพวกซามูไร พิธีกรรมการตีดาบ
พิธีกรรมการตีดาบแบบโบราณนั้นมีขั้นตอนมากมายและถือเป็นพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ ช่างตีดาบต้องถือศีลกินเจ และทำสมาธิ ในขณะที่หลอมเหล็ก ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เพื่อผลิตดาบให้เป็นมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของดาบเล่มนั้นๆ ช่างตีดาบและลูกมือจะร่วมมือกันทำดาบเพียงหนึ่งเล่มในระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าช่างตีดาบที่ดีจะทำดาบที่ดีออกมา หากช่างตีดาบมีจิตใจไม่ดีดาบที่ตีออกมาก็จะไม่ดีไปด้วย ดาบแต่ละเล่มจึงมีราคาไม่เท่ากัน บางเล่มราคามากกว่าที่ดินหนึ่งผืน หรือดาบที่ดีเพียงเล่มเดียวอาจจะมีราคาสูงกว่าหอกสามร้อยเล่ม ในสมัยโบราณ ดาบจึงไม่ใช่อาวุธที่สามารถจะซื้อมาใช้ในกองทัพได้ นอกจากเป็นสมบัติส่วนตัวของเหล่าซามูไรเท่านั้น

[แก้] ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน

ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ซาดาอิจิ กัสสัน (Sadaeji Gassan) ช่างตีดาบที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง กัสสันเป็นตระกูลช่างตีดาบที่ตกทอดมากว่า 700 ปี ปัจจุบันยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการตีดาบอย่างประณีตตามขั้นตอนและวิธีการแต่โบราณจากยุคทอง สมัยคามาคูระ โดยเป็นมรดกตกทอดมาถึง "ซาดาโตชิ กัสสัน" (Sadatoshi Gassan) ดาบซามูไรยังคงความประณีตงดงามถือเป็นงานศิลปะขั้นสูงสุดตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ปัจจุบันยังมีช่างตีดาบอีกจำนวนมากที่ตีดาบตามแนวทางดั้งเดิม

[แก้] การเข้ามาของดาบญี่ปุ่นในประเทศไทย

ดาบญี่ปุ่นเริ่มเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาช่วงสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2146-2410) จากการติดต่อค้าขาย ญี่ปุ่นนำพัดและดาบเข้ามาในอยุธยา โดยเฉพาะดาบมีความสำคัญต่อพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางในราชสำนักสยามแต่งตัวในชุดเต็มยศ ห้อยดาบเข้าพิธีสำคัญๆ ต่างๆ ในพระราชสำนัก อีกทั้งหนึ่งในห้าของ "เบญจราชกกุธภัณฑ์" คือ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สูงสุดแห่งอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ดาบหรือกระบี่ของตำรวจและทหารในชุดเต็มยศของไทยในปัจจุบัน เรียกว่าดาบทหารม้า (Parade Saber) ซึ่งได้รับอิทธิพลพื้นฐานมาจากดาบญี่ปุ่นทั้งสิ้น
ในสมัยอยุธยา ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากสยาม เช่น ไม้กฤษณา, ไม้ฝาง, น้ำกุหลาบ, พริกไทย เป็นต้น มีการตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยา เมื่อมีชาวญี่ปุ่นมาอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์โดยลี้ภัยทางศาสนาและส่วนหนึ่งเป็นพวกซามูไรแตกทัพที่สูญเสียเจ้านายหรือที่เรียกว่า "โรนิน" แตกทัพจากสงครามเซกิงาฮาร่า ได้โดยสารเรือสำเภาที่กำลังจะเดินทางมาค้าขายยังชมพูทวีปและมาตั้งรกรากในประเทศสยาม สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วยก็คือดาบญี่ปุ่น ซามูไรเหล่านี้ได้กลายเป็นทหารอาสาญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

อ้างอิงจาก http://www.wikipedia.com/